เช็กให้ชัวร์ ภาชนะไหนเข้าไมโครเวฟได้

เช็คให้ชัวร์ ภาชนะไหนเข้าไมโครเวฟได้

*ภาพสินค้าประกอบการโฆษณาเท่านั้น

นอกจากวิธีพลิกดูที่ก้นภาชนะกับข้อความบ่งบอกระดับการทนความร้อนที่มาจากโรงงานแล้ว การเลือกใช้ภาชนะสำหรับไมโครเวฟนั้นเรายังสามารถตรวจสอบระดับการทนความร้อนได้เอง ว่าถ้วย ชาม ที่เราจะใช้นำเข้าไมโครเวฟนั้น ใช้ได้จริงหรือไม่

วิธีการตรวจสอบระดับการทนความร้อนของภาชนะ

นำถ้วย ชาม ที่ต้องการนำเข้าไมโครเวฟ ใส่น้ำเปล่าเติมนำเย็น 1ถ้วย (250 มล.) ในภาชนะ เริ่มทำงานด้วยไฟสูงสุดเป็นเวลา 1 นาที ค่อย ๆ สัมผัสภาชนะในบริเวณที่เหนือจากการสัมผัสน้ำ ว่ามีความร้อนมากหรือไม่ หากภาชนะในส่วนที่ไม่ถูกน้ำมีความร้อนมาก ไม่สามารถจับได้ด้วยมือเปล่า นั้นถือว่าเป็นภาชนะที่ไม่ควรนำมาใช้กับไมโครเวฟนั้น ห้ามทดสอบเกิน 1 นาที

เพราะหลักการทำงานของไมโครเวฟ คือ การทำปฎิกิริยากับของเหลวที่อยู่ในภาชนะ ดังนั้นภาชนะจึงไม่ร้อนมากเกินไป วิธีเช็คง่ายๆ นี้จะช่วยทำให้เรามั่นใจได้ส่วนหนึ่งว่า ภาชนะที่เรามีนั้นจะสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย

ภาชนะที่เหมาะสม

  • จานสำหรับไมโครเวฟ ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต ส่วนก้นจานต้องอยู่เหนือจานหมุนอย่างน้อย 3/16 นิ้ว (5 มม.) การใช้งานไม่ถูกต้องอาจทำให้จานหมุนแตกได้
  • เซรามิค ใช้ภาชนะที่ปลอดภัยกับเตาอบไมโครเวฟเท่านั้น ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต ห้ามใช้จานที่แตกหรือมีรอยบิ่น
  • เครื่องแก้ว ใช้เครื่องแก้วที่ทนความร้อนเท่านั้น ต้องแน่ใจว่าไม่มีขอบที่ทำจากโลหะ ห้ามใช้จานที่แตกหรือบิ่น
  • ถุงทำอาหารที่ใช้กับเตาอบ ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต ห้ามปิดถุงด้วยอุปกรณ์ที่เป็นโลหะ ทำรอยเพื่อให้ไอน้ำออกมาได้
  • จานและถ้วยกระดาษ ใช้สำหรับการทำอาหาร/อุ่นอาหารระยะสั้นเท่านั้น ต้องคอยเฝ้าเตาอบอยู่เสมอขณะทำอาหาร
  • กระดาษซับน้ำมัน ใช้คลุมอาหารเพื่อการอุ่นและซับไขมัน ใช้สำหรับการทำอาหารในเวลาอันสั้นเท่านั้น
  • กระดาษรองขนม ใช้คลุมอาหารเพื่อป้องกันการกระจายหรือห่ออาหารเพื่ออบ
  • พลาสติก ใช้พลาสติกสำหรับเตาอบไมโครเวฟเท่านั้น ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต หากมีฉลากว่า “ใช้กับเตาอบไมโครเวฟได้” ภาชนะพลาสติกบางอย่างจะอ่อนตัวลง เมื่ออาหารอุ่นขึ้น และควรผ่า เจาะ หรือทำช่อง “ถุงต้มน้ำ” และ ถุงพลาสติกที่ปิดสนิท เล็กน้อยตามที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์
  • ที่ห่ออาหารพลาสติก ใช้ที่ห่ออาหารสำหรับเตาไมโครเวฟเท่านั้น และใช้คลุมอาหารเพื่อรักษาความความชื้น ไม่ให้ที่ห่ออาหารสัมผัสกับตัวอาหารโดยตรง
  • เทอร์โมมิเตอร์ ใช้เทอร์โมมิเตอร์สำหรับเตาไมโครเวฟเท่านั้น (เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิเนื้อและขนม)
  • กระดาษไข ใช้คลุมอาหารเพื่อป้องกันการกระจายหรือรักษาความชื้น
เช็คให้ชัวร์ ภาชนะไหนเข้าไมโครเวฟได้

ภาชนะที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ถาดอะลูมิเนียม อาจทำให้เกิดการนำไฟฟ้า ให้ใส่อาหารในจานสำหรับเตาไมโครเวฟ
  • กล่องอาหารที่มีมือจับเป็นโลหะ อาจเกิดการนำไฟฟ้า ให้ใส่อาหารในจานสำหรับเตาไมโครเวฟ
  • ภาชนะโลหะหรือที่มีขอบเป็นโลหะ โลหะจะสกัดกั้นไม่ให้อาหารสัมผัสพลังงานไมโครเวฟ และขอบโลหะอาจจะเกิดการนำไฟฟ้า
  • ที่ปิดถุงโลหะ อาจเกิดการนำไฟฟ้าและทำให้เกิดเปลวไฟได้
  • ถุงกระดาษ อาจทำให้เกิดไฟไหม้ในเตาอบ
  • โฟมพลาสติก โฟมพลาสติกอาจละลายหรือละลายกับของเหลวเมื่อสัมผัสกับอุณหภูมิสูง
  • ไม้ ไม้จะแห้งเมื่อใส่เข้าเตาอบไมโครเวฟและอาจแตกออกได้
แค็ตตาล็อกเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว
บทความที่เกี่ยวข้อง