การออกแบบภายในบ้าน แม้ว่าจะออกแบบให้มีความสวยงามแค่ไหน แต่เมื่อบ้านมีการใช้งานจริง บ้านของเราอาจจะไม่ได้สวยงาม เป็นระเบียบเหมือนบ้านที่ถ่ายลงในนิตยสาร เพราะในความเป็นจริงแล้ว บ้านจะเต็มไปด้วยข้าวของมากมาย ซึ่งถ้าหากไม่ได้มีการออกแบบ Space หรือ คิดเผื่อพื้นที่สำหรับการจัดการเก็บข้าวของเหล่านี้ไว้ตั้งแต่แรก อาจจะทำให้เกิดปัญหาที่หลายคนกำลังปวดหัวอยู่ตามมา นั่นก็คือข้าวของใช้วางเต็มบ้านไปหมด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะความไม่เป็นระเบียบแบบนี้จะทำลายความสวยงามของบ้านที่ตั้งใจออกแบบมาเป็นอย่างดี แต่ทุกปัญหาก็มีทางแก้ เราจึงขอบอกต่อไอเดีย Home storage ที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้จริง ที่จะช่วยซ่อนข้าวของที่เราต้องการจะเก็บในทุกๆ มุมของบ้านให้ดูเป็นระเบียบแม้จะมองไม่เห็นก็ตาม
1. ห้องเก็บของ (Storage room):
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการเก็บของ นั่นก็คือการออกแบบบ้านให้มีห้องว่างเป็นห้องเก็บของห้องหนึ่งไปเลย ขนาดก็ใหญ่เล็กได้ตามพื้นที่ที่มีและปริมาณของใช้ที่ต้องการเก็บ บางบ้านที่มีพื้นที่ไม่มาก อาจจะใช้เป็นหเองใต้บันได บางบ้านที่มีพื้นที่ใ้ต้หลังคาค่อนข้างมาก ก็อาจจะสร้างเป็นห้องใต้หลังคาไว้เก็บของ บางบ้านที่มีโรงจอดรถ แยกต่างหาก อาจจะกั้นพื้นที่ส่วนหนึ่งให้มาเป็นห้องเก็บของพวกอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ก็ได้
TIP: ห้องเก็บของจําเป็นจะต้องมีการกระบายอากาศ เช่นกัน ถ้าหากไม่สามารถมีหน้าต่างหรือช่องเปิดได้ ก็ควรติด พัดลมระบายอากาศ (Exhausted Fan) ที่ฝ่าเพดาน
ลักษณะของ Fitting บันได ที่ติดอยู่กับแผ่นฝ่า (Ceiling mounted ladder) ที่สามารถเปิดและดึงลงมาเพื่อขึ้นไปยังห้องเก็บของ ที่ห้องใต้หลังคา รายละเอียดเพิ่มเติม
2. Behind the wall :
วิธีนี้ทำได้ด้วยการออกแบบตู้เก็บของซ่อน โดยมี concept ให้หน้าบานตู้นั่นๆเป็นวัสดุเดียวกันหรือเห็นเป็นเรื่องเดียวกันกับผนังส่วนนั้นๆ เพื่อให้คนที่ไม่ได้ใช้งานหรือไม่ได้เป็นผู้อยู่อาศัยในบ้านไม่สามารถสังเกตได้ว่ามีตู้เก็บของอยู่ที่ผนังนั้นๆ
ด้วยแนวคิดนี้ หน้าบานตู้จะต้องเป็น finishing เดียวกันและอยู่เสมอกันกับผนังข้างเคียง ยกตัวอย่างเช่น หากผนังกรุไม้ หน้าบานตู้ก็ต้องกรุไม้เหมือนกัน หากผนังเป็น wallpaper หน้าตู้ก็ต้องเป็น MDF board หรือ ไม้อัดติด wallpaper ลายเดียวกัน หากผนังเป็นผนังทาสี หน้าบานตู้ก็ต้องกรุ laminate เทียบสีให้เหมือนกับสีทาผนัง เป็นต้น และเลือกใช้มือจับที่ดูกลมกลืน ไม่เป็นจุดเด่นหรือจุดที่ดูแปลกแยกจากผนัง เพื่อให้ตลอดแนวของผนังที่เราซ่อนตู้ไว้ดูเป็นผนังเดียวกัน
TIP: Hinge หรือบานพับของบานเปิดตู้ ควรจะต้องเลือกแบบที่ไม่ให้เห็น fitting จากด้านนอก เช่น บานพับผีเสื้อ เป็นต้น รายละเอียดเพิ่มเติม
3. Under stair drawers :
พื้นที่ตามขั้นบันได ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถทำให้เป็น storage เก็บของได้ โดยทำให้ลูกตั้งของบันไดกลายเป็นลิ้นชัก สามารถเก็บของพวก รองเท้า กระดาษทิชชู่และเครื่องใช้ภายในบ้านอื่นๆได้ ซึ่งการมี “under stair drawers” แบบนี้นั้นก็ต้องออกแบบตั้งแต่การวางโครงสร้างของบันไดบ้าน เพราะหากบันไดเป็นโครงสร้างปูนแล้ว จะไม่สามารถทำลิ้นชักเก็บของใต้บันไดในลักษณะนี้ได้ จะสามารถทำได้เฉพาะโครงสร้างบันไดไม้และเหล็กเท่านั้น
TIP: หน้าบานลิ้นชักหรือลูกนอนของบันไดไม่ควรมีมือจับที่ยื่นออกมา เนื่องจากจะเป็นอันตรายจากการสามารถเกี่ยวเท้าได้เวลาเดิน และจะทำให้สังเกตเห็นเป็นที่เก็บของ
4. Mirror cabinet :
ในส่วนของห้องน้ำ Vanity counter หรืออ่างล้างหน้า มักจะมีของใช้ส่วนตัววางบน Counter Top เต็มไปหมด สามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการซ่อนของใช้เหล่านี้อยู่ในตู้หลังกระจกเงา ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้นอยู่แล้ว ด้วยวิธีการซ่อนที่เก็บของแบบนี้ จะทำให้บริเวณ Counter top อ่างล้างหน้าเป็นระเบียบและดูสวยงาม
TIP: การออกแบบตู้หลังกระจกเงานั้นต้องคำนึงถึงความลึกของตู้ด้วย หากมีของที่ต้องการเก็บจำนวนมากหน่อย ความลึกของตู้เพิ่มขึ้น ความกว้างของ vanity counter ก็ต้องเพิ่มขึ้นตามระยะที่คนใช้งานได้จริงด้วย โดยปกติจะออกแบบความลึกของตู้หลังกระจกเงานี้ให้ลึกประมาณ 100-150 มม.
5. Under the floor :
หากในบ้านมีพื้นที่บางส่วนหรือบางห้องที่เป็นพื้นยก (Raised floor) แปลว่าใต้พื้นจะมีพื้นที่เหลือที่จะอยู่ระหว่างพื้นโครงสร้างกับพื้นยก ซึ่งเราสามารถใช้พื้นที่ตรงนี้เก็บของได้อีก โดยที่ออกแบบให้เป็น Lifted up panel หรือเป็นพื้นที่เปิดขึ้นมาเพื่อซ่อนที่เก็บของอยู่ใต้พื้น
TIP: Panel ที่เปิดเพื่อเก็บของที่พื้นจะต้องอยู่ระดับเสมอกันกับพื้น เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม
สามารถเลือกอุปกรณ์ หรือหาไอเดียดีๆ เพื่อนำไปตกแต่งบ้านของท่าน ได้ที่ โชว์รูมเฮเฟเล่ ทั่วประเทศ (Hafele Design Studio) ทุกสาขา